(* กดเพื่อเปลี่ยนสีพื้นหลัง)

tips

ขงจื๊อ

         ขงจื๊อเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในอารยธรรมจีน ชาวจีนรวมทั้งชาวเอเซียตะวันออกพากันเลื่อมใสยกย่องขงจื๊อติดต่อกันมากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว แต่หากจะตั้งคำถามว่า คำสอนของขงจื๊อสมควรจัดเป็นศาสนาได้หรือไม่          ก็จะมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่ยังลังเล ไม่ยอมตอบรับ เพราะคำสอนของนักปราชญ์ท่านนี้ไม่มีการกล่าวถึงพระเจ้าหรือกำเนิดของจักรวาล ไม่สนใจให้คำอธิบายเรื่องภพหน้าหรือชีวิตหลังความตาย อีกทั้งขงจื๊อเองก็ไม่เคยอ้างว่า ตนเป็นต้นคิดคำสอนเหล่านั้น ท่านย้ำอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอว่า เป็นแต่เพียงผู้รวบรวมความคิดของนักคิดนักปราชญ์ในอดีตกาล เพื่อถ่ายทอดให้แก่ชนรุ่นหลัง นั่นคือท่านไม่เคยตั้งตนเป็นศาสดา และไม่เคยกำหนดให้ผู้เลื่อมใสคำสอนของท่านสละการครองเรือนมาเป็นนักบวช การถกกันเรื่องนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ง่ายๆ         เดิมทีเดียวในสมัยที่ขงจื๊อยังมีชีวิตอยู่ มิได้ถือกันว่าคำสั่งสอนที่ขงจื๊อรวบรวมจากความคิดของนักคิดนักปราชญ์ในอดีตกาลเป็นศาสนา แต่เมื่อขงจื๊อสิ้นชีวิตแล้ว ผู้นิยมในคำสอนต่างยกย่องสรรเสริญ และต่อมาจึงมีประกาศเป็นทางการให้บูชาขงจื๊อในฐานะศาสดา         เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื้อ เมื่อทศวรรษ 1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื้อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ  แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื้อน่าจะอยู่อันดับแรกมากกว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื้อ ไม่มากก็น้อย         ขงจื้อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว  เป็นคนรัฐหลู่ (คำว่าจื้อ...เป็นคำยกย่องผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็นอาจารย์) เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในปลายสมัยชุนชิวและเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญา ‘หยูเจีย’ หรือสำนักปรัชญาขงจื้อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่           ขงจื้อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งจารีตและดนตรีมาแต่โบราณกาล การก่อรูปแนวคิดขงจื้อขึ้นอาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษาของรัฐหลู่ ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุสามขวบ มารดาเป็นหญิงผู้ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื้อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และมีคุณธรรม          ขงจื้อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนศึกษาพิธีกรรม การเซ่นสรวงต่างๆ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ขงจื้อ ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30 และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื้อได้พลิกโฉม การศึกษาในสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื้อมีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้…เนื้อตากแห้งเพียงชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์         เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและมีคุณธรรมสูงส่งมี 70คน จากสานุศิษย์70คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า ‘อาจารย์กล่าวว่า...’ ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า ‘หลุนอวี่’         ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่าง ยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรกที่ขงจื้อสอนสั่งคือเหรินหรือเมตตาธรรม        เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่าเหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้นๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ ‘เหริน’        พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี479ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)       ขงจื๊อมีชีวิตอยู่ระหว่างปี ๕๕๑ ถึงปี ๔๗๙ ก่อนคริสตกาล ช่วงเวลาดังกล่าวกลียุคกำลังครอบงำแผ่นดินจีน ขงจื๊อเกิดในตระกูลผู้ดีตกยากที่มณฑลซานตุง ชื่อตัวคือ ชิวหรือคิว นามสกุลคุงหรือขง ครอบครัวของท่านเป็นผู้คงแก่เรียน ท่านเองก็มีความรักเรียนตั้งแต่วัยเด็ก ขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเอง แม้จะต้องทำงานหนักเพื่อช่วยครอบครัว เนื่องจากบิดาเสียชีวิตเมื่อขงจื๊ออายุได้เพียง ๓ ปี ท่านสนใจขุมปัญญาของบรรพชนจีนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และประวัติศาสตร์ ท่านเห็นว่าการที่แผ่นดินจีนในอดีตสงบสุขและรุ่งเรืองกว่าสมัยของท่านเอง เป็นเพราะคนโบราณนับแต่ผู้ครองแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ตลอดไปจนถึงบรรดาพลเมืองต่างมีคุณธรรมประจำใจ รู้จักปฏิบัติตนในทางที่เกื้อหนุนให้เกิดความสามัคคีในสังคม และเคารพจารีตประเพณีประจำถิ่นของตนอย่างเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ขงจื๊อจึงคิดจะขจัดกลียุคในสมัยของตนด้วยการอบรมหลักจริยธรรม ขัดเกลาจิตใจผู้คนโดยเฉพาะชนชั้นปกครองให้มีคุณธรรม ขงจื๊อเชื่อมั่นว่าคุณธรรมเท่านั้นที่จะนำความสงบสุขมาสู่สังคมได้       ขงจื๊อทำการค้นคว้าจนรอบรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ประวัติศาสตร์ การปกครองและดนตรี แล้วท่านก็ตั้งโรงเรียนสอนผู้สนใจทั่วไป สำนักของขงจื๊อเน้นด้านจารีตประเพณี ท่านสอนอยู่ ๒๐ ปี มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว มีลูกศิษย์มากมาย ต่างสรรเสริญความคงแก่เรียนและน้ำใจเอื้ออาทรของท่าน ท่านชอบพูดอย่างถ่อมตนเสมอว่า ท่านเป็นเพียงผู้รวบรวมความรู้ของนักปราชญ์สมัยโบราณมาถ่ายทอดแก่ผู้คนร่วมสมัย ท่านไม่เคยยกตนเป็นเจ้าของหลักความคิด ทฤษฎี หรือคำสอนในเรื่องใดทั้งสิ้น       ขงจื๊อวางหลักการครองชีวิตและการวางตัวไว้ให้บุคคลทุกสถานะ ไม่ว่าจะเป็นผู้ครองแผ่นดินหรือเป็นเพียงผู้ครองเรือน เมื่ออายุได้ ๕๑ ปีท่านเข้ารับราชการฝ่ายปกครอง มีความสามารถจนได้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม มีโอกาสนำความคิดด้านการปกครองไปทดลองใช้กับแคว้นหลู่บ้านเกิด ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเวลาเพียง ๔ ปีจนเป็นที่ริษยา ถูกกลั่นแกล้งจนต้องออกจากเมืองไป ท่านตระเวณไปขอพบเจ้าเมืองหลายคน ด้วยความหวังว่า จะมีผู้สนใจหลักการปกครองของท่าน แต่ก็ต้องผิดหวัง ไม่มีเจ้าเมืองคนใดยอมให้ท่านนำความคิดมาประยุกต์ใช้ในเมืองของตน อย่างไรก็ดี ในหมู่ผู้ครองเรือนขงจื๊อได้รับความเคารพรักและความยกย่องอย่างสูง บรรดาลูกศิษย์ของท่านต่างช่วยกันจดบันทึกคำสอนของท่านอย่างละเอียด ท่านดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ปฏิบัติตัวอยู่ในหลักจริยธรรมตามที่ท่านเองสอน ท่านอุทิศเวลาจวบจนบั้นปลายของชีวิตให้กับการเรียนและการสอนคุณธรรม และศึกษา รวบรวม คัดเลือกและเรียบเรียงงานวรรณกรรมเก่าๆ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนโบราณมิให้สูญหาย ขงจื๊อสิ้นชีวิตเมื่ออายุ ๗๓ ปี       หลักการปกครองและหลักจริยธรรมของขงจื๊อได้รับการยกย่องในสมัยต่อมา พระจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่น (ระหว่างปี ๒๐๖ ก่อนคริสตกาลถึงค.ศ. ๒๒๐) ต่างใช้หลักธรรมของขงจื๊อเป็นแนวการปกครอง โดยเฉพาะข้อที่กำหนดให้ผู้ปกครองดูแลราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ใช้อำนาจข่มขู่หรือเบียดเบียนราษฎร       ปัจจุบันนี้คำสอนของขงจื๊อยังคงมีอิทธิพลมหาศาล ชาวจีนส่วนใหญ่ยังคงยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมของประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียตนาม สิงคโปร์และอีกหลายประเทศในเอเซียอาคเนย์ต่างมีโฉมหน้าดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะคำสอนที่ขงจื๊อรวบรวมไว้ สาวกคนสำคัญ - เม่งจื๊อ จุดมุ่งหมายในการสอน อาจกล่าวอย่างกว้างๆได้ว่า ขงจื๊อมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสอนสองประการ คือ ต้องการจะยกระดับจิตใจของคน และสร้างความสามัคคีในสังคม การที่จะบรรลุจุดหมายทั้งสองบุคคลต้องเริ่มที่ตนเองก่อน ขั้นแรกจะต้องศึกษาเล่าเรียนเพื่อขัดเกลาจิตใจของตน ในขั้นต่อมาจะต้องใช้คุณธรรมเป็นหลักประจำใจเมื่อต้องติดต่อกับผู้คน หัวข้อสำคัญของปรัชญาขงจื๊อได้แก่หลักการปกครอง ขงจื๊อมุ่งสอนชนชั้นปกครองเพราะท่านคิดว่า ถ้านักปกครองทำหน้าที่ของตนโดยใช้หลักจริยธรรมและวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ราษฎรแล้ว บ้านเมืองก็จะสงบสุข ส่วนราษฎรก็ต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง เป็นหลักปฏิบัติที่ต่างฝ่ายต่างมีพันธะต่อกัน คำสอน...คำสอนของขงจื๊อดำเนินตามหลัก ๕ ประการ ดังนี้ ๑. ศรัทธา หมายถึง ศรัทธาในธรรมชาติของมนุษย์ ขงจื๊อคิดว่า คนเรามีธรรมชาติที่ดีมาแต่กำเนิด เราจึงควรศึกษาธรรมชาติของคน เพื่อจะได้เข้าใจความดีและความสมบูรณ์แบบของธรรมชาติมนุษย์ ๒. ความรักเรียน ขงจื๊อคิดว่า การศึกษาจะช่วยให้คนเข้าใจกันดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้คนประพฤติตัวดีเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ด้วย ๓. การบำเพ็ญประโยชน์ ขงจื๊อคิดว่า การมีเมตตาจิตต่อกันจะทำให้สังคมเป็นสุข ๔. การสร้างลักษณะนิสัยและทัศนคติที่ดี คนเราต้องพัฒนาตนเองก่อนจะไปปฏิรูปสังคม การติดต่อกับคนอื่นต้องอยู่บนรากฐานของความถูกต้องและมนุษยธรรม หลักการที่จะนำมาปฏิบัติ ได้ตลอดชีวิต คือ “จงอย่าปฏิบัติต่อผู้อื่น ในสิ่งที่ท่านไม่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อท่าน” ขงจื๊อคิดว่า ถ้านักปกครองวางตัวไม่ดี ราษฎรก็จะประพฤติตัวไม่ดีไปด้วย ๕. ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี ขงจื๊อคิดว่า สังคมจะพัฒนาได้ต้องมีระเบียบแบบแผน และระเบียบแบบแผนที่ดีที่จะช่วยพัฒนาปัจเจกบุคคลก็คือ การศึกษาบทกวีและดนตรี คำสอนของขงจื๊อแบ่งเป็น ๕ ข้อ ดังนี้ ๑. ความเมตตากรุณา มนุษยธรรม ๒. ความยุติธรรม ๓. พิธีตามจารีตประเพณี (li แปลว่า ความเหมาะสม) หมายถึง ก. มารยาทที่ดี สมบัติผู้ดี การวางตนถูกกาละเทศะ ข. การเซ่นสรวงบูชา ค. การประกอบพิธีกรรมต่างๆ ๔. สติปัญญา ๕. ความกตัญญูต่อบิดามารดา ความสำคัญของการศึกษา ขงจื๊อตั้งหน้าศึกษาอดีตเพื่อเรียนรู้จากคนในอดีต แต่คำสอนของท่านเน้นการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันโดยดำเนินตามแบบอย่างอันดีงามของบรรพชน ขงจื๊อให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างยิ่ง คำว่าการศึกษาในที่นี้มีความหมายพิเศษ มิใช่การศึกษาเพื่อนำไปประกอบอาชีพ แต่หมายถึงการศึกษาเพื่อขัดเกลาจิตใจให้มีจริยธรรม และเพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมของผู้ศึกษา ขงจื๊อย้ำว่า คนเราพึงเล่าเรียนเพื่อจะได้พัฒนาเป็นมนุษย์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม การพากเพียรปลูกฝังคุณธรรมนี้จะช่วยให้แต่ละบุคคลประพฤติตนตามทำนองคลองธรรม อันจะส่งผลให้สังคมสงบสุข คำว่าการศึกษาของขงจื๊อจึงมีคุณธรรมเป็นเป้าหมาย และพอจะกล่าวโดยสรุปได้ว่า ขงจื๊อต้องการสอนคนให้เป็นมนุษย์ หรือผู้ที่มีจิตใจสูงนั่นเอง ระบบคุณธรรม ระบบคุณธรรมในปรัชญาของขงจื๊อมีสวรรค์ (หรือฟ้า) เป็นฝ่ายควบคุม คอยให้ความยุติธรรมแก่มนุษย์ในรูปของกฎหมายสากล ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “ผู้ใดทำผิด สวรรค์ย่อมลงโทษ” ระบบคุณธรรมนี้มาจากความเชื่อของชาวจีนโบราณที่ว่า สวรรค์อยู่เหนือโลก คอยสอดส่องควบคุมจริยธรรมของชาวโลก กษัตริย์เป็นโอรสของสวรรค์ ได้รับการมอบหมายจากสวรรค์ให้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างสวรรค์กับราษฎร ความมั่นคงของกษัตริย์และราชวงศ์ขึ้นอยู่กับความกรุณาของสวรรค์ ถ้าความประพฤติของกษัตริย์ไม่ตั้งอยู่ในหลักธรรม สวรรค์ก็จะบรรดาลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆในแผ่นดิน ทั้งภัยธรรมชาติและความระส่ำระสายทางการเมืองและสังคม เมื่อนั้นก็จะมีผู้คบคิดกันโค่นอำนาจของกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ ผู้เป็นกษัตริย์จึงพยายามตั้งมั่นอยู่ในจริยธรรม กษัตริย์แสดงความเคารพยำเกรงสวรรค์ให้ปรากฏต่อสายตาของโลกโดยประกอบพิธีเซ่นสรวงบูชาให้ถูกต้องตามแบบแผน ส่วนประชาชนก็ทำหน้าที่โดยเชื่อฟังและภักดีต่อกษัตริย์ เมื่อถึงตรุษสารทก็ทำพิธีเซ่นไหว้ให้ถูกต้องตามประเพณี หากทำได้ดังนี้ชีวิตของแต่ละคนก็จะราบรื่น และอาณาจักรก็จะมีแต่สันติสุข พิธีตามจารีตประเพณี (Li) หมายถึง ก. มารยาทที่ดี สมบัติผู้ดี การวางตนถูกกาละเทศะ ข. การเซ่นสรวงบูชา ค. การประกอบพิธีกรรมต่างๆ           อาจจะมีผู้สงสัยว่าเหตุใดคำว่า li ซึ่งแปลตามตัวว่า ความเหมาะสม จึงมีความหมายกว้างถึงเพียงนี้ ในการพิจารณาเรื่องนี้เราพึงนึกอยู่เสมอว่า ขงจื๊อให้ความสำคัญแก่สังคมเหนือสิ่งอื่นใด ทั้งนี้ด้วยเหตุผลจากสามัญสำนึกว่า คนเราจะพัฒนาบุคคลิกภาพได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสังคมเท่านั้น สังคมเป็นสนามให้เราได้มีโอกาสขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังและเพิ่มพูนคุณธรรม ในขณะเดียวกันคุณธรรมก็ไร้ความหมายหากไม่มีการแสดงออก และคุณธรรมจะปรากฏออกมาได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในสังคมเท่านั้น           การประกอบพิธีต่างๆเป็นทางหนึ่งที่จะแสดงคุณธรรมในใจ นั่นคือ คุณธรรมเป็นจุดกำเนิดหรือรากฐานของพิธีกรรม ขงจื๊อให้ความสำคัญแก่การเซ่นสรวงบูชาและการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพราะพิธีเป็นการแสดงความเคารพศรัทธาที่คนมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมาให้ปรากฏ ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นสิ่งดีแต่ไร้ความหมายหากไม่มีการแสดงออก            ในทำนองเดียวกันมารยาทในสังคมก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะแสดงคุณธรรมในใจ มารยาทจะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้ราบรื่นแม้เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น สุภาพชนพึงรู้จักมารยาทการวางตนให้เหมาะแก่บุคคล สถานที่และโอกาส การแสดงความเคารพบุคคลตามฐานะ เป็นการให้เกียรติแก่ยศและตำแหน่งของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งยังเป็นการเตือนให้อีกฝ่ายหนึ่งระลึกถึงหน้าที่ของตน ที่ผูกอยู่กับยศและตำแหน่งนั้นด้วย ระบบความคิดแบบครอบครัวหรือความสัมพันธ์ ๕แบบ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆในสังคมมีความสำคัญไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัย สถานะทางสังคมและความเกี่ยวดองฉันญาติ ขงจื๊อแบ่งความสัมพันธ์ในสังคมออกเป็น ๕ แบบ ได้แก่ ๑. ความสัมพันธ์ระหว่างบิดาต่อบุตร (ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างมารดาต่อบุตรด้วย) ๒. ความสัมพันธ์ระหว่างพี่ต่อน้อง ๓. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีต่อภรรยา ๔. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อาวุโสต่อผู้อ่อนวัย ๕. ความสัมพันธ์ระหว่าง กษัตริย์ต่อราษฎร ขงจื๊อคิดว่า ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่สำคัญที่สุด เพราะครอบครัวเป็นรากฐานของสังคม ขงจื๊อกำหนดว่า ภายในครอบครัวจะต้องมีระบบพันธะ คือต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อกันและกัน บิดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ให้การศึกษา อบรมศีลธรรมจรรยาและจัดหาคู่ครองให้ ส่วนบุตรมีหน้าที่เคารพเชื่อฟังบิดา และให้การดูแลเมื่อบิดาเข้าสู่วัยชรา ในทำนองเดียวกัน ความสัมพันธ์อีก ๔ แบบข้างต้นก็มีระบบพันธะเป็นรากฐาน และใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบิดาต่อบุตรเป็นแม่แบบ เช่น ผู้อาวุโสมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อ่อนวัยตามอัตภาพ อาจจะช่วยโดยให้คำแนะนำ ให้ทรัพย์ หรือให้การปกป้อง ส่วนผู้อ่อนวัยมีหน้าที่ให้ความนับถือและ เชื่อฟังยอมรับความหวังดี ขงจื๊อเชื่อว่า สังคมจะเรียบร้อยกลมเกลียวได้ก็ต่อเมื่อชีวิตครอบครัวเป็นสุข ความกตัญญูกตเวที              ในเรื่องความกตัญญูกตเวที ขงจื๊อย้ำว่า บุตรต้องเคารพนับถือบิดามารดาด้วยใจจริง มิใช่เพียงแต่หาอาหารมาให้บิดามารดาเท่านั้น เพราะสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข เราก็ให้อาหารมัน ถ้าหากว่าไม่มีความเคารพนับถือบิดามารดาเสียแล้ว บิดามารดาก็เป็นเสมือนสัตว์เลี้ยงในใจของเรา บุตรอาจแนะนำหรือทัดทานบิดามารดาอย่างสุภาพอ่อนโยนได้ หากบิดามารดาไม่คล้อยตามคำแนะนำ ก็ยังต้องแสดงกิริยานอบน้อมไว้ และไม่ล้มเลิกความตั้งใจที่จะทัดทานเพื่อผลดีต่อตัวท่าน ถึงแม้จะถูกตำหนิแรงๆหรือถูกเฆี่ยนตี ก็ไม่ควรอุทธรณ์ฎีกาใดๆ ทั้งสิ้น             การแสดงความรักและความเคารพต่อบิดามารดาเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ และแสดงความเศร้าโศกเสียใจเมื่อท่านจากไปแล้ว เป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของมนุษย์ ดังนั้น การบูชาบรรพบุรุษจึงเป็นพิธีกรรมที่ขงจื๊อถือว่าเป็นรากฐานแห่งจริยธรรม อุดมคติในการปฏิบัติต่อกันในสังคม
  1. ผู้ปกครองแสดงความเมตตาผู้อยู่ใต้การปกครอง และผู้อยู่ใต้การปกครองมีความจงรักภักดี
  2. บิดามารดาให้ความเมตตา บุตรมีความกตัญญูกตเวที
  3. สามีทำหน้าที่อย่างมีคุณธรรม ภริยาเชื่อฟังและเคารพสามี
  4. พี่ชายรักและเอ็นดูน้อง น้องนับถือพี่
  5. เพื่อนวางตัวให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของกันและกันได้
ปรัชญาการปกครอง ในระบบปรัชญาการเมืองของขงจื๊อ รัฐบาลที่ดีควรมีหลักยึดมั่น 3 ประการ คือ
  1. ต้องดูแลให้ประชาชนมีอาหารบริโภคทั่วหน้าอย่างเพียงพอ
  2. ต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อป้องกันแคว้นของตน
  3. ต้องวางตนให้ประชาชนเชื่อถือ
           ถ้ารัฐบาลจำเป็นต้องสละสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้สละทหารเป็นสิ่งแรก ต่อมาคืออาหารเพราะไม่มีใครหนีความตายได้ แต่รัฐบาลที่ดีจะต้องทำให้ประชาชนเชื่อถือศรัทธาอยู่เสมอ รัฐบาลในความคิดของขงจื๊อมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ
  1. ให้บริการแก่ประชาชน
  2. ออกกฎต่างๆเพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ในส่วนของการปกครอง ขงจื๊อเน้นหลัก ๓ ประการ ดังนี้ - ผู้มีอำนาจต้องยึดมั่นในหลักการ และมีความเด็ดขาด ต้องรู้จักใช้อำนาจบังคับเมื่อจำเป็นต้องควบคุมสถานการณ์ - ครอบครัวที่รักกันและสามัคคีกันเป็นรากฐานของสังคมที่ดี - ผู้มีอำนาจการปกครองต้องประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ราษฎร ก่อนที่จะเป็นนักปกครองที่ดีได้นั้น ผู้ปกครองจะต้องปกครองใจตนเองให้ได้ก่อน ปัจเจกบุคคลต้องพัฒนาตนเองก่อนจะไปปฏิรูปสังคม เมื่อใจตั้งอยู่ในคุณธรรมก็จะปกครองครอบครัวได้ แล้วจึงจะสามารถปกครองสังคมได้            ขงจื๊อสรุปว่า หัวใจของการปกครองนั้น คือ ความเป็นผู้เคร่งครัดในหน้าที่ ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตน ผู้ปกครองทำหน้าที่ของผู้ปกครอง ข้าราชการทำหน้าที่ของข้าราชการ บิดาทำหน้าที่ของบิดา บุตรทำหน้าที่ของบุตร รัฐจึงจะมีสันติสุข ไม่ว่าจะพิจารณาคำสอนของขงจื๊อในแง่ใด หัวใจสำคัญจะอยู่ที่ปัจเจกบุคคลและการพัฒนาจิตใจตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์เสมอ ลักษณะอื่นๆของคนดี ขงจื๊ออธิบายว่า คนดีต้องปฏิบัติสิ่งที่เขาสอนได้ก่อน แล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นในสิ่งที่เขาปฏิบัติ คนดีเข้าใจความดี ยึดมั่นในคุณธรรม ชอบความเรียบง่าย มนุษย์ในอุดมคติของขงจื๊อยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีก ได้แก่ - รู้จักไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนจะพูดออกมา - เป็นคนเด็ดเดี่ยวและจิตใจมั่นคง - มีความกล้าหาญ - ปราศจากวิตกจริต - เป็นคนน่านับถือ ขยันหมั่นเพียร ใจเปี่ยมด้วยเมตตาและขันติธรรม คัมภีร์ของศาสนาขงจื๊อ เกงทั้ง 5 และซูทั้ง 4 คือ คัมภีร์ของศาสนาขงจื๊อ คำว่าเกงหรือกิง แปลว่า “เล่ม” (Volume) หรือ “วรรณคดีชั้นสูง” (Classics) ส่วนคำว่า “ซู” แปลว่า “หนังสือตำรา” (Books) เกงหรือกิงทั้ง 5 1.ยิกิง (Yi-King) คัมภีร์แห่งความเปลี่ยนแปลง ว่าด้วยจักรวาล เป็นการรวบรวมตำราเก่าแก่และมีข้อเขียนที่ขงจื๊อขยายความ 2.ซูกิง ( Shu-King) คัมภีร์แห่งประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์และการปกครองประเทศในสมัยประมาณ 2400 ปีก่อนคริสตศักราช 3.ซีกิง (Shi-King) คัมภีร์แห่งบทกวี เช่น บทกวีสำหรับทำพิธีบูชาฟ้าดิน 4.ลิกิง (Li-King) คัมภีร์แห่งพิธีกรรม มิใช่ว่าด้วยศาสนพิธีเท่านั้นแต่ยังรวมถึงมารยาททางสังคมด้วย 5.ชุนชิว (Chun-Tsiu) คัมภีร์แห่งจดหมายเหตุฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง เป็นบันทึกเหตุการณ์ในแคว้นลู้ ที่ขงจื๊อเคยอยู่ กล่าวถึงบ้านเมืองที่ผู้ปกครองมีศีลธรรม คัมภีร์ทั้ง 5 นี้ได้รับความยกย่องให้เป็นวรรณคดีชั้นสูงของจีนด้วย ซูทั้ง 4 1.ต้าเซี่ยว (Ta Hsio) คัมภีร์แห่งการศึกษาขั้นสูง มีข้อความเกี่ยวกับศีลธรรม เชื่อกันว่าเป็นข้อเขียนของขงจื๊อเอง 2.จุนยุง (Chun-Yung) คำสอนเรื่องทางสายกลาง มีข้อความเกี่ยวกับความรู้จักประมาณตน 3.ลุนยู (Lun-Yu) เป็นประมวลคำสอนของขงจื๊อ ซึ่งบรรดาศิษย์ของขงจื๊อรวบรวมไว้ 4.เม่งจื๊อ (Meng Tze) ข้อเขียนเกี่ยวกับขงจื๊อที่เม่งจื๊อซึ่งเป็นศิษย์ของขงจื๊อเขียนไว้ ในสมัย 100 ปีต่อมา เม่งจื๊อ เม่งจื๊อมีชีวิตอยู่ระหว่างปี 371 กับ 289 ก่อนคริสตกาล เกิดที่มณฑลชานตุงเช่นเดียวกับขงจื๊อ มีอาชีพครูเช่นเดียวกับขงจื๊อ และรับราชการฝ่ายพลเรือนเหมือนกัน เม่งจื๊อศึกษาปรัชญาขงจื๊อกับหลานของขงจื๊อ จึงนับได้ว่าเม่งจื๊อเป็นศิษย์ของขงจื๊อ บทนิพนธ์ของเม่งจื๊อมีชื่อว่า “The Book of Mencius” สาระสำคัญของปรัชญาเม่งจื๊อ
  1. เม่งจื๊อคิดเหมือนขงจื๊อที่ว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมาแต่กำเนิด และมีความสามารถที่จะทำความดีเท่าเทียมกันถ้ามีความพยายาม
  2. เม่งจื๊อสนับสนุนให้ราษฎรมีสิทธิและเสรีภาพ
  3. มนุษยธรรม (jen)
  4. ความถูกต้องชอบธรรม (li = ความเหมาะสม)
              เม่งจื๊อรับหลักปฏิบัติสำหรับบุคคล 5 กลุ่มที่ขงจื๊อสอนมาไว้ในคำสอนของตน (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้อยู่ใต้อำนาจ บิดามารดากับบุตรธิดา พี่กับน้อง สามีกับภรรยา และเพื่อนกับเพื่อน) และเน้นว่าทั้งสองฝ่ายต้องให้และรับไปพร้อมกัน มิใช่ให้หรือรับอย่างเดียว เช่น ผู้มีอำนาจต้องให้ความเมตตาและยุติธรรมจึงสมควรจะได้รับความจงรักภักดีจากผู้อยู่ใต้อำนาจ หากฝ่ายแรกขาดความเที่ยงธรรม ฝ่ายหลังก็ไม่จำเป็นต้องให้ความจงรักภักดี นับว่าเม่งจื๊อช่วยเพิ่มสาระคำสอนในศาสนาขงจื๊อยิ่งขึ้น สถานภาพของสตรี           ทั้งขงจื๊อและเม่งจื๊อเน้นคุณธรรม สอนให้สามีทำหน้าที่อย่างมีคุณธรรมต่อภริยา ส่วนภริยาให้เชื่อฟังและเคารพสามี อย่างไรก็ตาม ประมาณ 400 ปีหลังสมัยของเม่งจื๊อ ประมาณคริสตวรรษที่สาม นักคิดกลุ่มที่เรียกตนเองว่าเป็นศิษย์ของขงจื๊อ ได้ใช้ศาสนาขงจื๊อเป็นเครื่องมือรวบอำนาจให้แก่ฝ่ายปกครอง โดยตั้งกฎที่เรียกว่า “พันธะ 3 ประการ” ขึ้นมา “พันธะ 3 ประการ” นี้มีใจความว่า
  1. กษัตริย์มีอำนาจเหนือเหล่าขุนนาง
  2. พ่อมีอำนาจเหนือลูก
  3. สามีมีอำนาจเหนือภรรยา
          ทั้งนี้ ผู้ด้อยหรือไร้อำนาจซึ่งได้แก่ขุนนาง ผู้เป็นลูก และภรรยาจึงมีแต่พันธะหน้าที่ต่อผู้มีอำนาจ ต้องให้ความเชื่อฟังโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ “พันธะ 3 ประการ”เปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงได้ตามใจชอบ นักคิดกลุ่มนี้อ้างว่า“พันธะ 3 ประการ”มีไว้เพื่อให้สังคมสงบและความสัมพันธ์ของทุกคนในสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น          อนึ่ง ประเพณีการรัดเท้าผู้หญิงเป็นรูปแบบหนึ่งของการกดขี่ของนักคิดกลุ่มหลังนี้ด้วย         แนวคิดเรื่องความตาย ศาสนาขงจื๊อไม่พูดถึงเรื่องโลกหน้า เชื่อว่า คนเราควรจัดการกับชีวิตปัจจุบันให้ดีที่สุด ความตายเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต พิธีกรรม             ขงจื๊อเห็นความสำคัญของประเพณีโบราณ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งประเพณีการบูชาฟ้าดิน และบูชาบรรพบุรุษด้วย ศาสนาขงจื๊อจึงรับเอาประเพณีทั้ง 2 ซึ่งมีมาก่อนหน้านั้นหลายพันปีเข้ามาปฏิบัติ พิธีกรรมในการบูชาแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้
  1. พิธีบูชาขงจื๊อ เริ่มต้นเมื่อปี 195 ก่อน ค.ศ. (พ.ศ. 348) พระจักรพรรดิจีนได้นำสัตว์ที่ฆ่าแล้ว ไปทำพิธีบูชาที่หลุมฝังศพของขงจื๊อ และมีคำสั่งเป็นทางการให้มีการเซ่นไหว้ขงจื๊อเป็นประจำ และให้สร้างศาลของขงจื๊อขึ้นในหัวเมืองสำคัญ เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้ กำหนดให้วันที่ 27 สิงหาคมซึ่งือเป็นวันเกิดของขงจื๊อ เป็นวันหยุดราชการประจำปีของจีน โดยต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวันที่ 28 กันยายน
  2. พิธีบูชาฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ในปีหนึ่ง จะมีรัฐพิธี 4 ครั้ง ดังนี้
2.1 พิธีบูชาฟ้า กระทำกันประมาณวันที่ 22 ธันวาคม พระจักรพรรดิทรงเป็นประธานในพิธี มีการแสดงดนตรี แห่โคมไฟ มีเครื่องเซ่นไหว้ เช่น อาหาร ผ้า ไหม เหล้า เสร็จแล้วจะเผาเครื่องเซ่นไหว้ แท่นบูชาอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง ทำด้วยหินอ่อนสีขาว มีระเบียงลดหลั่นเป็นชั้น 3 ชั้น 2.2 พิธีบูชาดิน เป็นการบูชาธรรมชาติหรือเทพประจำธรรมชาติ ผู้ประกอบพิธีเป็นขุนนาง หรือข้าราชการ กระทำเป็นงานประจำปี ประมาณวันที่ 21 หรือ 22 มิถุนายน แท่นบูชาอยู่ทางทิศเหนือของกรุงปักกิ่ง สถานที่บูชามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมรอบ 2.3 พิธีบูชาพระอาทิตย์ กระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาทางประตูด้านตะวันออกของกรุงปักกิ่ง ประมาณวันที่ 21 มีนาคม 2.4 พิธีบูชาพระจันทร์ กระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาด้านทิศตะวันตกของกรุงปักกิ่ง ประมาณวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน พิธีบูชาฟ้า ดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์ดังกล่าวมีมานานก่อนสมัยของขงจื๊อ แต่ขงจื๊อเล็งเห็นคุณประโยชน์ต่อจิตใจ จึงรวบรวมประเพณีพิธีกรรมเหล่านี้ไว้ในตำราของท่าน กลายเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาขงจื๊อไปด้วย (จัดทำโดย อ. มธุรส ศรีนวรัตน์, B.A., M.A. (Innsbruck)) ขงจื้อ คติเตือนใจ คำคม ขงจื้อ สู่ความเป็นเลิศเหนือคน รวมไว้มากที่สุด ที่นี่ สำหรับคนที่ชอบ ขงจื้อ วันนี้รวบรวมคำคม สติสอนใจ ความหมายดีดี ทำให้ได้แง่คิด มองโลกในแง่ดี เข้าใจคน เป็นกำลังใจให้คนเพื่อสู้ชีวิตต่อไป และมีความฉลาดมากยิ่งขึ้น และทำให้รู้จักดำเนินชีวิต การเข้าสังคม มองคนให้แตกฉาน ด้วยคำสอนของ ขงจื้อ มาอ่านกันเลย เรียบเรียงโดย rambo_a สมาชิก www.bbberry.net ที่มา drboonchai.com , www.baanjomyut.com ปราชญ์สอนว่า...โดย: ขงจื้อ
  • เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
  • ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
  • การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
  • การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
  • บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
  • ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
  • บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
  • ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
  • จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
  • ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
  • สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
  • บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
  • อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
  • กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
  • ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
  • บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
  • ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
  • ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
  • ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
  • เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
  • บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
  • ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
  • ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
  • เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
  • ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
  • การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
  • การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
  • บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
  • ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
  • บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
  • ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
  • จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
  • ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
  • สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
  • บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
  • อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
  • กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
  • ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
  • บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
  • ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
  • ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
  • ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
  • เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
  • บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
  • ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
  • ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
ขงจื้อ : สู่ความเป็นเลิศเหนือคน (ดร.บุญชัย โกศลธนากุล) บทความที่นำเสนอสรุปประเด็นจากหนังสือเรื่อง The Essential Confucius แต่งโดย Thomas Cleary ผู้แต่งได้รวบรวมคำสอนที่สำคัญ ๆ ของปรมาจารย์ขงจื๊อเกี่ยวกับคุณธรรมที่ควรปลูกฝังไว้ในจิตใจมนุษย์ มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
  1. จงอย่าใส่ใจว่า คนอื่นจะมองว่าเราเป็นคนอย่างไร มีชื่อเสียงมากน้อยแค่ไหน หรือมีฐานะอย่างไร แต่ให้สนใจว่า ตัวเราเองมีค่าควรแก่การ “ใส่ใจหรือให้ความเคารพนับถือ” แล้วหรือยัง
  2. ชื่อเสียงเงินทองที่ได้มาด้วยการคดโกงย่อมไม่ยั่งยืนหรือมีคุณค่าอันใด และไม่ต่างจากเมฆบนท้องฟ้าที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
  3. บุคคลที่เราควรให้ความเคารพ ควรจะเป็นคนที่จะใส่ใจในเรื่องความซื่อตรงและยุติธรรม มากกว่าเรื่องลาภยศสรรเสริญ
  4. คนดีจะเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แต่ไม่สุรุ่ยสุร่าย ขยันขันแข็งโดยไม่อึดอัดทรมาน มีเป้าหมายในชีวิตแต่ไม่ละโมบโลภมาก เป็นคนง่าย ๆ แต่ไม่อวดดี เป็นคนมีศักดิ์ศรีแต่ไม่โหดร้ายเป็นคนที่รู้จักเกรงอกเกรงใจคนอื่นโดยไม่เลือกปฏิบัติ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา จิตใจจะไม่มีความหยิ่งยะโสโอหัง
  5. ขงจื๊อเชื่อว่า เป็นการท้าทายที่จะพัฒนาตนเองให้มีพฤติกรรม 5 ประการดังต่อไปนี้
1) ทำตัวให้น่านับถือ พูดจามีสัมมาคารวะ มีการแต่งกายและการแสดงออกที่ถูกต้องตามกาละเทศะ 2) ทำอย่างไรจิตใจเราจะกว้างใหญไพศาล ไม่สนใจเรื่องหยุมหยิม แต่คงไว้ซึ่งความยุติธรรม ถ้าทำได้ตามนี้เราจะชนะใจคน 3) ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ 4) ทำอย่างไรจึงจะมีความเฉลียวฉลาด 5) ทำอย่างไรเราจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  1. คนที่จิตใจได้รับการฝึกฝนและขัดเกลาแล้วจะไม่ใส่ใจมากนักในเรื่องการกินและการอยู่อย่างไรจึงจะสุขสบาย แต่จะจดจ่อที่หน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ และมีการสำรวมระวังคำพูดอยู่เสมอ
           อย่าพูดจาทำร้ายจิตใจคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ใกล้ชิดเรา เพราะจะเหมือนหอกข้างแคร่ที่จะทำให้เราบาดเจ็บได้ตลอดเวลา จงสั่งสอนตักเตือนคนที่เขาอยากจะพัฒนาตนเอง พูดในสิ่งที่เขาอยากจะฟัง พูดในสิ่งที่เขาฟังแล้วรู้เรื่อง หากเขามิใส่ใจที่จะพัฒนาตน ไม่อยากฟัง หรือฟังไม่รู้เรื่องก็ให้เราเงียบเสียและปล่อยวาง จงหมั่นเข้าหาพบปะพูดจากับผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรหรือผู้มีคุณธรรม ฟังสิ่งที่เขาเหล่านั้นตักเตือน และจงนำมาปฏิบัติตาม
  1. หากจะต้องเลือกคบคนที่ตระหนี่ถี่เหนียว ยังดีกว่าเลือกคบคนที่สุรุ่ยสุร่าย สำมะเลเทเมา พยายามอย่าสุงสิงกับคนที่มีคุณธรรมและคุณภาพจิตใจต่ำกว่าเรา เพราะความคิด คำพูด และการกระทำของอีกฝ่ายย่อมกระทบกระเทือนจิตใจเราอย่างที่หลีกเลี่ยงเสียไม่ได้ จงเลือกคบคนที่มีคุณธรรม มีน้ำใจ มีความยุติธรรม ปากกับใจตรงกัน ไม่อิจฉาริษยา และรู้จักพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  2. ผู้ที่มีคุณธรรมในจิตใจง่ายที่ทำงานด้วย แต่ยากที่จะประจบเอาใจ หากเราพยายามเอาใจอย่างผิดวิธีแล้วล่ะก็ คนที่มีคุณธรรมจะไม่ชอบหน้าเรา เพราะคนเหล่านี้จะใช้คนตรงตามความสามารถ และในทางกลับกัน คนที่มีจิตใจคับแคบ นิดนึงก็ไม่ได้ นิดนึงก็ไม่ยอม ยากที่จะทำงานด้วย แต่เอาใจง่ายมาก และแม้ว่าเราจะเอาใจอย่างผิด ๆ เขาก็ยังชอบเรา เพราะคนจำพวกนี้คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ
  3. ย่อมเป็นการยากที่เราจะพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคงได้ ตราบเท่าที่เรายังมีความละโมบโลภมากในจิตใจ
  4. คนที่ไม่มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจมักจะยอมแพ้ระหว่างทาง เพราะเขาได้ตีกรอบไว้ให้ตนเองตั้งแต่ต้นแล้วว่าเขาจะไม่มีทางจะทำสำเร็จ
  5. คนที่ไม่รู้จักมองการณ์ไกลจะมีความกังวลอยู่กับเรื่องราวเฉพาะหน้า หรือเรื่องความสัมพันธ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไร้สาระเกี่ยวกับคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้าเรามีเป้าหมายในชีวิตและมีการวางแผนล่วงหน้าว่าเราอยากจะทำอะไร เราจะรู้จักปล่อยวางไม่กังวลกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรเพื่อสิ่งใด เราจะรู้จักใช้เวลาอย่างคุ้มค่า และเราจะรู้จักเลือกคบคนไปโดยปริยาย ไม่ลอยไปลอยมาวันหนึ่ง ๆ
  6. “คนที่อยากให้คนเคารพยำเกรง แต่ไม่รู้จักการวางตัว คนเห็นก็จะเบื่อและเซ็ง
          คนที่ระมัดระวังตลอดเวลา แต่ขาดกิริยาอันงดงามสำรวม จะมองดูเหมือนคนขี้ขลาดตาขาว           คนที่กล้าหาญบ้าบิ่น โดยไม่สนใจเรื่องกิริยามารยาท ดูแล้วป่าเถื่อน           คนที่ตรงไปตรงมา โดยไม่สำรวม ไม่ดูกาลเทศะ และไม่พิจารณาถึงผลที่จะตามมา กำลังจะฆ่าตัวเองตาย”
  1. คนที่มีคุณธรรมจะไม่พะว้าพะวง คนที่มีความรู้จะไม่สับสน และคนที่กล้าหาญจะปราศจากความขลาดกลัว
  2. คนที่ใจร้อน ไม่รอบคอบ และชอบทำตามอารมณ์จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกัน คนที่คิดเล็กคิดน้อย นิดนึงก็ไม่ได้นิดนึงก็ไม่ยอม ย่อมไม่สามารถทำการใหญ่ได้
  3. ผู้ที่ต้องการยกระดับคุณภาพจิตใจพึงตระหนักถึงระเบียบวินัย 3 ประการ ดังนี้
1) ช่วงวัยรุ่น เป็นช่วงที่พลังชีวิตยังไม่เสถียร ไม่ควรหมกมุ่นในเรื่องกามารมณ์ 2) ช่วงวัยกลางคน ให้ระมัดระวังเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น 3) วัยชรา ให้รู้จักปล่อยวาง และพอใจในสิ่งที่ตนเองหามาได้
  1. มันเป็นการยากที่คนเราจะมองเห็นข้อบกพร่องของตนเอง และยากยิ่งกว่าที่จะตำหนิตนเองและยินดีที่จะปรับปรุงแก้ไขในเรื่องนั้นๆ
  2. จงกังวลในเรื่องต่อไปนี้
1) จงกังวลหากเราไม่เคยคิดที่จะปลูกฝังคุณธรรมไว้ในจิตใจตน 2) จงกังวลหากเรามีความเกียจคร้าน ไม่ยอมแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการงานของตน 3) จงกังวลหากเราไม่สามารถทำใจเป็นกลางได้เมื่อฟังเรื่องราวต่าง ๆ 4) จงกังวลหากเรายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถแก้ไขจากไม่ดีให้เป็นดีได้
  1. มันเป็นการป่วยการที่จะพร่ำบ่นถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และจงเลิกเศร้าโศกกับเรื่องในอดีต
  2. เมื่อออกไปนอกบ้านให้วางตัวเสมือนว่า เราจะต้องต้อนรับแขกเหรื่อที่สำคัญ ให้เรายิ้มแย้มแจ่มใส โอภาปราศัย สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน และหากจะต้องมอบหมายงานแก่ผู้ใด ให้สร้างมโนภาพว่า เราเป็นแม่งานและให้มอบหมายงานตามความถนัดของแต่ละคน และสั่งงานด้วยความชัดเจนและรัดกุม
  3. สิ่งใดที่เราไม่ชอบ ก็จงอย่าทำสิ่งนั้นกับผู้อื่น ทั้งคนในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง จงอย่าสร้างศัตรูในเขตอาณาของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ อย่าทะเลาะกับคนในบ้าน คนที่ยิ่งใกล้ เราต้องยิ่งระวัง
  4. ถ้าเราไม่ได้สนทนากับคนที่ควรคบหาสมาคมด้วย เราก็จะเสียคน ๆ นั้นไป และในทางกลับกัน ถ้าเราพูดคุยคบหากับคนที่ไม่ควรสุงสิง เราจะสูญเสียเวลา คนที่ฉลาดย่อมจะไม่ยอมสูญเสียทั้งคนและเวลา
  5. การทำใจและก้มหน้ายอมรับชะตากรรมว่า เราเกิดมายากจน เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าการถ่อมตัวและฝืนใจที่จะไม่โอ้อวดในความร่ำรวยของตนเอง ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีความร่ำรวยหรือมีสิ่งที่เหนือกว่าผู้อื่น มักชอบโอ้อวดและประกาศศักดาของตัวเอง พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมเป็นการนำภัยมาสู่ตนเองโดยไม่รู้ตัว ขงจื๊อจึงสอนว่า เมื่อร่ำรวยแล้วไม่ควรอวดตัว แต่ให้มีความสำรวม สมถะ และมีความพอเพียง
  6. หากเราคบหาสมาคมกับคนที่ไม่สำรวม ชอบทำอะไรตามอำเภอใจ วันหนึ่งเราก็จะกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว และไม่เกรงใจคน หรือไม่ก็เป็นคนที่หวาดกลัวไม่กล้าทำอะไร
  7. จงเป็นผู้ฟังที่ดี และให้ฟังหูไว้หู จงอย่าตัดสินคนจากคำพูด แต่ให้พิจารณาจากการกระทำว่า มันสอดคล้องกับสิ่งที่เขาพูดหรือไม่ และที่สำคัญคือ สิ่งที่เขาพูดนั้น พูดไปเพื่อจุดประสงค์อะไร มีอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่ คนที่มีคุณธรรมมักจะมีอะไรพูดอยู่เสมอ แต่คนที่พูดอยู่เสมอไม่จำเป็นต้องมีคุณธรรม คนที่ดีจะพูดช้าแต่ทำเร็ว
  8. เพื่อนที่ดีจะเป็นคนซื่อตรง ซื่อสัตย์และมีความรอบรู้ แต่เพื่อนที่จะพาไปสู่ทางต่ำ จะชอบเสแสร้ง ชอบประจบสอพลอ ชอบแสร้งเอาใจประหนึ่งว่า เราจะได้ประโยชน์ตลอดเวลาหากเราคบหาสมาคมด้วย
  9. คนที่โชคดีที่สุดคือ คนที่เกิดมาแล้วชาญฉลาด ถัดลงมาคือคนที่ชาญฉลาดเนื่องจากการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม รองลงมาคือผู้ที่เรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดของตน และพวกที่ต่ำสุดคือพวกที่ประสบปัญหาแล้วไม่เคยคิดที่จะเรียนรู้หรือแก้ไขเลย
  10. คนที่มีการฝึกฝนอบรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมมาแล้วจะมีความสงบและเยือกเย็น ไม่อวดดีถือเนื้อถือตัว แต่คนที่ใจเล็กและคับแคบจะมีความสำคัญมั่นหมาย อวดดี ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ชอบเปรียบเทียบ อิจฉาริษยา วาจาไม่ระงับจิตใจยากที่จะสงบ หากพบเจอพวกนี้ให้นิ่งเฉยและถอยห่าง ฉะนั้น เราควรจะเลือกคบคนที่พูดไม่มาก เข้าใกล้แล้วสบาย สงบเยือกเย็น มีคำพูดและการกระทำสอดคล้องกัน
  11. เราไม่ควรเลือกคบบุคคล ดังต่อไปนี้
1) คนที่รักความอิสระเสรี แต่ไม่เคยมีความจริงใจกับเพื่อนมนุษย์ 2) คนที่ชอบทำตัวเหมือนเด็กใสซื่อ แต่เปี่ยมไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย 3) คนที่ตรงไปตรงมา แต่เชื่อถือไม่ได้
  1. คนที่หมั่นศึกษาหาความรู้โดยการท่องตำราแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่นำความรู้ไปทบทวนหรือนำไปปรับใช้เปรียบได้กับ “คนตาบอด” ในขณะเดียวกัน คนที่ชอบแสดงวิเคราะห์วางแผน แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา โดยไม่สนใจที่จะหาความรู้ใด ๆ เพิ่มเติม คนพวกนี้จะประสบภยันตรายและโอกาสที่จะคิดผิดทำผิดมีสูงมาก เพราะใช้แต่สัญชาตญาณหรือเชื่อความคิดของตนเองแต่เพียงถ่ายเดียว
  2. แม้ว่าคุณจะเป็นคนดีและมีความสามารถสักปานใด ความสามารถนั้นจะไม่เกิดดอกออกผลอันใดหากคุณเป็นคนที่อวดดี ใจแคบ และตระหนี่ถี่เหนียว เพราะคุณเป็นคนที่ไม่มีใครต้องการคบหาสมาคมด้วย
  3. คนฉลาดจะปรับประยุกต์ให้กลมกลืนแต่จะไม่ลอกเลียนแบบ แต่คนโง่จะชอบลอกเลียนแบบและไม่คำนึงถึงการปรับใช้ (Copyright © ดร.บุญชัย โกศลธนากุล, 2556)
  • ไม่ว่าคุณจะทำอะไรหรือคิดอะไรอยู่ แล้วมีคน คนหนึ่งมาดูถูกเราว่าเราทำไม่ได้ เพียงแค่อย่าเอาแค่ถ้อยคำพูดไม่กี่คำที่ไม่มีค่า มาทำให้เราถ้อใจได้ละ (ใจ สมอง และ ความคิด ) เป็นของเรา
  • อย่าเก็บคำวิจารณ์ของคนอื่นมาใส่ใจ แต่จงรับฟังและใช้มันพัฒนาตัวเองดีกว่า
  • อย่าให้คำพูดของคนอื่น มาตัดสินชะตาชีวิตของเรา
  • เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้อง ” คิด ” เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
  • ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
  • เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
  • ข้าจะบอกอะไรให้ ท้าคบคนไม่ได้คบคนที่หน้าตา…แต่คบคนที่พร้อมจะชราไปกับเรา
  • ไปให้สุด……….แล้วหยุดแค่คำว่าพอ
  • 4 สิ่งในโลก ที่เงินซื้อไม่ได้ คือ ความรัก เวลา ชีวิต และ มิตรแท้
  • การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
  • บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • คำคมขงจื้อ
  • บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
  • ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
  • บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
  • ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
  • จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
  • ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
  • สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
  • บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
  • เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม
  • ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
  • การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
  • ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
  • ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
  • บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
  • เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
  • ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
  • ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
  • ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
  • บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
  • ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
  • กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
  • อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
  • คำคมขงจื้อ
  • บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
  • สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
  • ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
  • จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
  • ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
  • บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
  • ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
  • ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
  • บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
  • การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
  • ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
  • คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ขอตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม
  • บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่องที่ขอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม
  • คำคมขงจื้อ
  • ผู้มีคุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
  • เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง ๓ ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา
  • ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา
  • เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย
  • พูดไพเราะตลบแตลง ทำให้สูญเสียคุณธรรม
  • บัณฑิตมีความกลัวอยู่ ๓ ประการ
  • กลัวประกาศิตของสวรรค์
  • กลัวผู้มีอำนาจ
  • กลัวคำพูดของอริยบุคคล
  • อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์
  • ทบทวนเรื่องเก่า และรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้
  • นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา
  • ชอบเอาสองคนมาเทียบกันว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น
  • ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ
  • ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตาชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน
  • เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน
  • เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งก้อเปิดแต่บ่อยครั้งที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิดจนไม่ทันเห็นว่ามีอีกบานที่เปิดอยู่
  • อย่ามัวค้นหาความผิดพลาด จงมองหาหนทางแก้ไข
  • อารมณ์ขันเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุดที่ช่วยรักษาสิ่งอื่นได้ เพราะทันทีที่เกิดอารมณ์ขันความรำคาญและความขุ่นข้องหมองใจจะมลายไปกลับกลายเป็นความเบิกบานแจ่มใสของจิตใจเข้ามาแทนที่
  • อย่ากลัวที่จะนั่งหยุดพักเพื่อคิด
  • 1 นาทีที่คุณโกรธเท่ากับคุณได้สูญเสีย 60 วินาทีแห่งความสงบในจิตใจไปแล้ว
  • ผู้ชนะไม่เคยลาออก และผู้ลาออกก็ไม่เคยชนะ
  • ออกซิเจนสำคัญต่อปอดเช่นไร ความหวังก็เป็นเช่นนั้นต่อความหมายของชีวิต
  • การมีชีวิตอยู่นานเท่าใดมิใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือ มีชีวิตอยู่อย่างไร
  • เราเข้าใจชีวิตเมื่อมองย้อนหลังเท่านั้น แต่เราต้องดำเนินชีวิตไปข้างหน้า
  • ไม่มีสิ่งใดช่วยให้คุณได้เปรียบคนอื่นมากเท่ากับการควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลาในทุกสถานการณ์
  • ความอดทนคือเพื่อนสนิทของสติปัญญา
  • พรสวรรค์ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือ การที่เราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้
  • ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่
  • ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น
  • เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย
  • เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส
  • เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
  • ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
  • นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ
  • ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
  • ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
  • ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น
  • ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี
  • ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่ คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
  • เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว
  • เดินหมากรุกยังต้อง " คิด "
  • เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
  • เมื่อใครสักคนหนึ่ง ทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา
  • เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่น เดียวกับเขา
  • ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้
  • การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น
  • ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสารมารถของตนอย่างเต็มที่
  • ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
  • ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่
  • อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น
  • เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่ หรือ อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"
  • เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"
  • เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต ( เพราะนัก การฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร )
  • เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"
  • เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้"
  • เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี
  • ( สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่าย ๆ )
  • คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย
  • ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน
  • คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมอง ไปยังอนาคต
ข้อมูลจาก https://www.gotoknow.org/posts/335502

Top Hit


Special Deal