(* กดเพื่อเปลี่ยนสีพื้นหลัง)

ประวัติศาสตร์

ลำดับสนมจีน สมัยราชวงศ์ชิง

ลำดับขั้นและตำแหน่งนางในมีการทำอย่างจริงจังในสมัยจักรพรรดิคังซี ซึ่งสามารถแบ่งตำแหน่งในวังหลังได้ดังต่อไปนี้ Tai Huang Tai Hou (太皇太后) เรียกลำลองว่า Tai Mu (太母) หรือรู้จักกันในชื่อ "ไทฮองไทเฮา" ตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 2 ขั้น หรือเป็นพระอัยยิกาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน อาจจะมีฐานะเป็นพระอัยยิกาแท้ๆ หรือพระอัยยิกาเลี้ยงของจักรพรรดิก็ได้ Huang Tai Hou (皇太后) เรียกลำลองว่า Tai Hou (太后) หรือรู้จักกันในชื่อ "ฮองไทเฮา" ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันไม่ได้เป็นพระโอรสที่เกิดแต่จักรพรรดินีองค์ก่อน ในรัชสมัยนั้นอาจจะมีไทเฮาได้ 2 พระองค์ คือตำแหน่งของจักรพรรดินีในจักรพรรดิองค์ก่อนหน้านับขึ้นไป 1 ขั้น เรียกว่า หมู่โห้วหวงไท่โห้ว (母后皇太后) และตำแหน่งพระมารดาในจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน (ซึ่งไม่ได้เป็นจักรพรรดินี) เรียกว่า เซิ่งหมู่หวงไท่โห้ว (聖母皇太后) โดยที่ไทเฮาที่เป็นอดีตจักรพรรดินีจะมีศักดิ์สูงกว่าไทเฮาที่เป็นพระมารดาของจักรพรรดิ Huang Tai Fei (皇太妃), Huang Tai pin (皇太嬪) เรียกลำลองว่า "ไท่เฟย" (太妃) กับ "ไท่ผิน" (太嬪) โดยจะมีคำว่า "太" หรือ "皇考" อยู่ในพระนาม ถ้าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันเป็นพระโอรสที่เกิดแต่พระชายาหรือพระสนมที่มีชาติกำเนิดต่ำต้อย พระชายาหรือพระสนมผู้นั้นไม่สามารถขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ แต่จะได้รับตำแหน่งเป็นไท่เฟยซึ่งเป็นตำแหน่งรองจากฮองไทเฮาอีกขั้นแทน พระชายาหรือพระสนมที่เป็นพระมารดาเลี้ยงให้แก่จักรพรรดิตั้งแต่ยังเป็นองค์รัชทายาท เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้วอาจจะแต่งตั้งพระมารดาเลี้ยงให้มีตำแหน่งไท่เฟยได้เช่นกัน และสามารถเลื่อนตำแหน่งไท่เฟยตรงนี้ขึ้นเป็นฮองไทเฮาได้ เมื่อเปลี่ยนรัชสมัยใหม่ องค์จักรพรรดิจะมีการแต่งตั้งพระชายาหรือพระสนมในจักรพรรดิองค์ก่อน ที่มีความสมควรหรือเหมาะสมขึ้นเป็นตำแหน่งไท่เฟย หรือตำแหน่งไท่ผิน เพื่อให้เกียรติพระนางเหล่านั้นก็ได้ Huang Hou (皇后) ตำแหน่งจักรพรรดินีองค์ปัจจุบันของจักรพรรดิ มักรู้จักกันในชื่อ "ฮองเฮา" ภรรยาเอกซึ่งมีตำแหน่งเดียวและมีศักดิ์สูงสุดในการปกครองฝ่ายใน ไม่นับรวมขั้นกับพระชายาและพระสนมอื่นๆ เป็นหงส์ที่จะอยู่เคียงข้างมังกร ซึ่งก็คือองค์จักรพรรดิ                มีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 10 คน สำหรับพระมารดาในจักรพรรดิที่เป็นพระชายาหรือพระสนม เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็นฮองเฮาทุกพระองค์ รองจากตำแหน่งฮองเฮาซึ่งเป็นจักรพรรดินี จะเป็นตำแหน่งพระชายาและพระสนมอีกหลายตำแหน่ง มีหลายคนเทียบยศแตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่มีอันไหนถูกหรือผิดจริง ทั้งหมดสามารถแบ่งได้ 3 ขั้นใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นสูง มี 2 ตำแหน่ง คือ Huang Gui Fei (皇貴妃) อ่านว่า "หวงกุ้ยเฟย" เป็นตำแหน่งรองลงมาจากฮองเฮา "พระอัครชายาผู้สูงศักดิ์ในองค์จักรพรรดิ" มีอำนาจในการปกครองวังหลังรองจากฮองเฮา ตำแหน่งนี้จึงมีได้เพียง 1 คน หากมีความเหมาะสม ในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการแต่งตั้งเป็น หวงกุ้ยไท่เฟย (皇貴太妃) หวงกุ้ยเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 8 คน Gui Fei (貴妃) อ่านว่า "กุ้ยเฟย" เป็นตำแหน่งรองลงมาจากหวงกุ้ยเฟย "พระราชชายาผู้ล้ำค่า" ตำแหน่งนี้สามารถมีได้ 2 คน หากมีความเหมาะสม ในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการแต่งตั้งเป็น กุ้ยไท่เฟย (貴太妃)  พระราชชายาขั้นกุ้ยเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 12 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 8 คน เช่นเดียวกับหวงกุ้ยเฟย   2) ภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นกลาง มี 2 ตำแหน่ง คือ Fei (妃) อ่านว่า "เฟย" เป็นตำแหน่งพระชายาในองค์จักรพรรดิ ตำแหน่งนี้สามารถมีได้ 4 คน หากมีความเหมาะสม ในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการแต่งตั้งเป็น ไท่เฟย (太妃)  พระชายาขั้นเฟยมีขันทีรับใช้ได้ 10 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 6 คน Pin (嬪) อ่านว่า "ผิน" เป็นตำแหน่งพระสนมเอกในองค์จักรพรรดิ ตำแหน่งนี้สามารถมีได้ 6 คน หากมีความเหมาะสม ในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการแต่งตั้งเป็น ไท่ผิน (太嬪)  พระสนมเอกขั้นผินมีขันทีรับใช้ได้ 8 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 6 คน   3) ภรรยาในองค์จักรพรรดิขั้นต่ำ มี 3 ตำแหน่ง คือ Gui Ren (貴人) อ่านว่า "กุ้ยเหริน" เป็นตำแหน่งพระสนมในองค์จักรพรรดิ กุ้ยเหริน หมายถึง ผู้ทรงเกียรติ ตำแหน่งนี้สามารถมีได้นับไม่ถ้วน พระสนมขั้นกุ้ยเหรินมีขันทีรับใช้ได้ 4 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 4 คน Chang Zai (常在) อ่านว่า "ฉางจ้าย" เป็นตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ฉางจ้าย หมายถึง คงอยู่ตลอดเวลา ให้ความหมายเทียบได้กับสนมอยู่งาน ตำแหน่งนี้สามารถมีได้นับไม่ถ้วน สนมขั้นฉางจ้ายมีขันทีรับใช้ได้ 3 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 3 คน Da Ying (答應) อ่านว่า "ตาอิ้ง" เป็นตำแหน่งสนมระดับล่างในองค์จักรพรรดิ ตาอิ้ง หมายถึง รับปาก,รับคำมั่น ตำแหน่งนี้สามารถมีได้นับไม่ถ้วน สนมขั้นตาอิ้งมีขันทีรับใช้ได้ 1 คน นางกำนัลรับใช้ได้ 2 คน ตำแหน่งกุ้ยเหริน ฉางจ้าย และตาอิ้ง หากมีความเหมาะสม ในรัชสมัยถัดไปอาจได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งเป็นขั้นผิน (嬪) และมีคำว่าหวงข่าว (皇考) นำหน้าอยู่ในพระนาม เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสนมของจักรพรรดิองค์ก่อน แต่ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งนั้นก็มีเป็นส่วนน้อย   Gong Nǚ (宫女) เป็นตำแหน่งนางกำนัลรับใช้ภายในวังหลวง โดยมีการแบ่งดังนี้คือ นางกำนัลรับใช้ที่เป็นชาวธง จะถูกเลือกให้ถวายการรับใช้ไทเฮา ฮองเฮา พระสนมตั้งแต่กุ้ยเหรินขึ้นไป และองค์หญิงต่างๆ เพราะนางกำนัลรับใช้ตรงส่วนนี้จะต้องมีสายเลือดและชาติกำเนิดที่เป็นชาวแมนจู และต้องมีการรักษากฎระเบียบเคร่งครัด ที่เหลือนอกจากนั้นก็จะได้เป็นนางกำนัลรับใช้ตามตำหนักอื่นๆ ระดับขั้นของนางกำนัลรับใช้ในราชวงศ์ชิงนั้นขึ้นอยู่กับเจ้านายที่ถวายการรับใช้อยู่ ยิ่งถวายการรับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งสูง ก็ยิ่งมีหน้ามีตาและอำนาจมากกว่านางกำนัลที่รับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งต่ำลงมา นอกจากนี้ยังมีการแบ่งนางกำนัลรับใช้ตามอาวุโส ได้แก่  Gu Gu (姑姑) อ่านว่า "กูกู" เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกนางกำนัลรับใช้ผู้มีอาวุโส หมายถึงอยู่ทำงานรับใช้ในวังมานาน ใกล้จะเกษียณออกจากวัง ตามธรรมเนียมเมื่ออายุประมาณ 25 ปี ก็สามารถออกจากวังไปแต่งงานได้ ในราชวงศ์ชิงจะรับนางกำนัลรับใช้ใหม่ๆ ทุกปี ดังนั้นก่อนที่จะออกไป กูกูก็จะมีหน้าที่อบรมและฝึกฝนนางกำนัลใหม่ทั้งหลายให้เรียนรู้และเป็นงาน มีอำนาจเด็ดขาดในนางกำนัลที่ตนฝึกสอน สามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษได้ นางกำนัลเข้าใหม่ยังมีหน้าที่รับใช้กูกู ล้างหน้า หวีผม หรืออาบน้ำในแต่ละวันด้วย Ma Ma (嬤嬤) อ่านแบบเก่าว่า "มามา" เรียก "มามาหลี่" (媽媽里) หรือ "อามา" (阿媽) ก็ได้ เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกนางกำนัลรับใช้อาวุโสที่เคยแต่งงานแล้ว ทางราชสำนักจะคัดเลือกแม่ม่ายที่ไม่มีลูก อายุประมาณ 40-50 ปี เข้ามาเป็นนางกำนัลรับใช้เชื้อพระวงศ์ที่มีตำแหน่งสูงอย่างฮองไทเฮา ฮองเฮา พระชายา หรือเป็นแม่นมให้กับพระโอรสพระธิดาที่เกิดแต่องค์จักรพรรดิกับฮองเฮาและพระชายา นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมดูแลสั่งสอนเหล่านางกำนัลรับใช้ทั่วไปได้ รวมถึงสอนเรื่องการแต่งตัวแต่งหน้า อบรมมารยาทและพิธีการในวังหลวง นางกำนัลรับใช้จะได้ออกจากวังเมื่ออายุ 25 ปี แต่ถ้าเป็นที่โปรดปรานของเจ้านายก็อาจจะได้อยู่รับใช้ต่ออีก 10 ปี หรืออาจจะได้ถวายตัวกับองค์จักรพรรดิเป็นสนมได้ (ตำแหน่งฉางจ้าย, ตาอิ้ง) มีกรณีพิเศษที่ทำให้สามารถออกจากวังได้คือ การติดตามไปรับใช้องค์หญิงที่แต่งงานออกไป หรือให้เชื้อพระวงศ์ชายขอพระราชทานนางกำนัลรับใช้ที่พึงใจจากองค์จักรพรรดิไปเป็นภรรยาได้             ในสมัยราชวงศ์ชิงได้มีการแบ่งอิสริยยศขององค์ชายและองค์หญิงในองค์จักรรพรรดิ รวมถึงพระชายาในองค์ชายเอาไว้หลากหลายตำแหน่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้   องค์ชาย (皇子) องค์ชายหรือ "หวงจื่อ" หมายถึง พระโอรสขององค์จักรพรรดิ เรียกลำลองว่า อาเกอ (阿哥) ซึ่งเป็นการเรียกโดยไม่ระบุถึงตำแหน่งหรืออิสริยยศที่ได้รับ องค์ชายที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์จะเรียกว่า หวงไท่จื่อ (皇太子) รองจากหวงไท่จื่อ จะเป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ที่องค์ชายหรือเชื้อพระวงศ์ชายอื่นๆ สามารถดำรงตำแหน่งได้ในราชสำนัก สามารถแบ่งได้ 12 ตำแหน่ง หากมีทายาทเป็นผู้สืบทอด จะมีตำแหน่งต่ำลงมาหนึ่งขั้น ในที่นี้จะพูดถึงตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายที่สำคัญ 6 ตำแหน่งแรก ซึ่งได้แก่
  1. เหอซั่วชินหวัง (和碩親王)
รู้จักกันในชื่อตำแหน่ง "ชินอ๋อง" ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งชินอ๋องส่วนมากเป็นพระโอรส พระเชษฐา หรือพระอนุชาในองค์จักรพรรดิ เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายลำดับที่ 1 และเป็นตำแหน่งสูงสุดที่องค์ชายสามารถมีได้ รองจากหวงไท่จื่อ หากองค์ชายที่ดำรงตำแหน่งชินอ๋องนี้ เป็น "เถี่ยเม่าจื่อหวัง" (鐵帽子王) แปลตรงตัวได้ว่า "อ๋องหมวกเหล็ก" หมายถึงได้รับอนุญาตให้สืบทอดตำแหน่งต่อได้โดยไม่ต้องลดตำแหน่งลงหนึ่งขั้น ชินหวังซื่อจื่อ (親王世子) หรือพระโอรสในชินอ๋องที่เป็นผู้สืบทอดก็จะได้ตำแหน่งเป็นชินอ๋องต่อจากบิดา
  1. ตัวหลัวจวิ้นหวัง (多羅郡王)
รู้จักกันในชื่อตำแหน่ง "จวิ้นอ๋อง" เป็นตำแหน่งรองจากชินอ๋อง ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายลำดับที่ 2 หากองค์ชายที่ดำรงตำแหน่งจวิ้นอ๋องนี้เป็นอ๋องหมวกเหล็ก จวิ้นหวังจ๋างจื่อ (郡王長子) หรือพระโอรสในจวิ้นอ๋องที่เป็นผู้สืบทอดก็จะได้ตำแหน่งเป็นจวิ้นอ๋องต่อจากบิดา (พระโอรสผู้สืบทอดในชินอ๋องที่ไม่ได้เป็นอ๋องหมวกเหล็ก ก็จะได้ตำแหน่งเป็นจวิ้นอ๋องเช่นกัน)
  1. ตัวหลัวเป้ยเล่อ (多羅貝勒)
เรียกลำลองว่า "เป้ยเล่อ" เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายลำดับที่ 3 ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งเป้ยเล่อส่วนมากเป็นพระโอรสหรือพระนัดดาในองค์จักรพรรดิ (พระโอรสผู้สืบทอดในจวิ้นอ๋องที่ไม่ได้เป็นอ๋องหมวกเหล็ก ก็จะได้ตำแหน่งเป็นเป้ยเล่อเช่นกัน)
  1. กู้ซานเป้ยจื่อ (固山貝子)
เรียกลำลองว่า "เป้ยจื่อ" เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายลำดับที่ 4 ตำแหน่งเริ่มต้นต่ำสุดที่จักรพรรดิองค์ปัจจุบันจะแต่งตั้งให้กับพระโอรสทุกพระองค์เมื่อเริ่มเป็นผู้ใหญ่ เมื่อมีผลงานก็สามารถเลื่อนตำแหน่งได้ (โอรสผู้สืบทอดในเป้ยเล่อ จะได้ตำแหน่งเป็นเป้ยจื่อตามศักดิ์)
  1. เฟิ่งเอินเจิ้งกั๋วกง (奉恩鎮國公)
เรียกลำลองว่า "เจิ้งกั๋วกง" เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายลำดับที่ 5 โอรสผู้สืบทอดในเป้ยจื่อ จะได้ตำแหน่งเป็นเจิ้งกั๋วกงตามศักดิ์
  1. เฟิ่งเอินฝู่กั๋วกง (奉恩輔國公)
เรียกลำลองว่า "ฝู่กั๋วกง" เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายลำดับที่ 6 โอรสผู้สืบทอดในเจิ้งกั๋วกง จะได้ตำแหน่งเป็นฝู่กั๋วกงตามศักดิ์ ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายทั้ง 6 ตำแหน่งข้างต้น รวมถึงตำแหน่งผู้สืบทอดชินอ๋อง (世子) และผู้สืบทอดจวิ้นอ๋อง (長子) ทั้งหมด 8 ตำแหน่ง เรียกรวมว่า หรู้ปาเฟินกง (入八分公) ถือเป็นเชื้อพระวงศ์ชายชั้นสูง ใช้สรรพนามเรียกเป็นองค์ชายหรือท่านชาย โดยขึ้นอยู่กับการสืบสายเลือดทางบิดากับจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ตำแหน่งอื่นนอกจากนี้ถือเป็นเชื้อพระวงศ์ชายชั้นล่าง   ภรรยาในเชื้อพระวงศ์ชาย (宗親貴族妻妾) หมายถึง พระชายาในองค์ชาย หรือชายาในท่านชาย ตามตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีการแบ่งได้ดังนี้ ตี๋ฝูจิ้น (嫡福晉) เป็นตำแหน่งองค์หญิงพระชายา โดยใช้กับ พระชายาเอกในหวงไท่จื่อ, ชินอ๋อง, จวิ้นอ๋อง หรือผู้สืบทอดชินอ๋อง ซึ่งตำแหน่งนี้แต่งตั้งได้คนเดียว เช่อฝูจิ้น (側福晉) เป็นตำแหน่งพระชายารอง โดยใช้กับ พระชายารองในหวงไท่จื่อ, ชินอ๋อง, จวิ้นอ๋อง หรือผู้สืบทอดชินอ๋อง ชินอ๋องแต่งตั้งพระชายารองได้ 4 คน ส่วนจวิ้นอ๋องและผู้สืบทอดชินอ๋องแต่งตั้งได้ 3 คน ตี๋ฟูเหริน (嫡夫人) เป็นตำแหน่งชายาเอก โดยใช้กับ ชายาเอกในผู้สืบทอดจวิ้นอ๋อง, เป้ยเล่อ, เป้ยจื่อ, เจิ้งกั๋วกง หรือฝู่กั๋วกง ซึ่งตำแหน่งนี้แต่งตั้งได้คนเดียว เช่อฟูเหริน (側夫人) เป็นตำแหน่งชายารอง เรียกอีกอย่างว่า เช่อซื่อ (側室) โดยใช้กับ ชายารองในผู้สืบทอดจวิ้นอ๋อง, เป้ยเล่อ, เป้ยจื่อ, เจิ้งกั๋วกง หรือฝู่กั่วกง ผู้สืบทอดจวิ้นอ๋องและเป้ยเล่อแต่งตั้งชายารองได้ 2 คน ส่วนเป้ยจื่อ เจิ้งกั๋วกง และฝู่กั่วกงแต่งตั้งได้ 1 คน   องค์หญิงและท่านหญิง (公主和格格) องค์หญิงหรือ "กงจู่" (公主) หมายถึง พระธิดาขององค์จักรพรรดิ กงจู่ สามารถเป็นสรรพนามเรียกโดยไม่ระบุถึงตำแหน่งหรืออิสริยยศขององค์หญิงผู้นั้นได้ ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงที่เป็นพระธิดาขององค์จักรพรรดิ มี 2 ตำแหน่ง ซึ่งได้แก่
  1. กู้หลุนกงจู่ (固倫公主)
ตำแหน่งองค์หญิง เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 1 ผู้ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นพระธิดาที่เกิดแต่จักรพรรดิกับจักพรรดินี มีบรรดาศักดิ์เทียบเท่าชินอ๋อง ภายหลังผู้ที่อยู่ตำแหน่งนี้อาจจะเป็นองค์หญิงที่จักรพรรดิทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ หรือ พระธิดาบุญธรรมในจักรพรรดิก็ได้
  1. เหอซั่วกงจู่ (和碩公主)
ตำแหน่งองค์หญิง เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 2 ผู้ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นพระธิดาที่เกิดแต่จักรพรรดิกับพระชายาหรือพระสนม หรือเป็นพระธิดาบุญธรรมในจักรพรรดิ จักพรรดินีหรือพระชายา มีบรรดาศักดิ์เทียบเท่าจวิ้นอ๋อง   คำว่า "เก๋อเก๋อ" (格格) โดยปกตินั้นใช้เรียกเชื้อพระวงศ์หญิงที่เป็นพระธิดาหรือท่านหญิงในหรู้ปาเฟินกง (入八分公) ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงรองจากกงจู่ สามารถแบ่งได้ 5 ตำแหน่ง ซึ่งได้แก่
  1. เหอซั่วเก๋อเก๋อ (和碩格格)
หรือเรียกว่า "จวิ้นจู่" (郡主) ตำแหน่งองค์หญิงหรือท่านหญิง ขึ้นอยู่กับการสืบสายเลือดทางบิดากับจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 3 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นพระธิดาในชินอ๋องกับพระชายาเอก
  1. ตัวหลัวเก๋อเก๋อ (多羅格格)[1]
หรือเรียกว่า "เสี้ยนจู่" (縣主) ตำแหน่งองค์หญิงหรือท่านหญิง ขึ้นอยู่กับการสืบสายเลือดทางบิดากับจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 4 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นพระธิดาในจวิ้นอ๋องกับพระชายาเอก หรือพระธิดาในผู้สืบทอดชินอ๋องกับพระชายาเอก
  1. ตัวหลัวเก๋อเก๋อ (多羅格格)[2]
หรือเรียกว่า "จวิ้นจวิน" (郡君) ตำแหน่งท่านหญิง เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 5 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นธิดาในชินอ๋องกับพระชายารอง ธิดาในผู้สืบทอดจวิ้นอ๋องกับชายาเอก หรือธิดาในเป้ยเล่อร์กับชายาเอก
  1. กู่ซานเก๋อเก๋อ (固山格格)
หรือเรียกว่า "เสี้ยนจวิน" (縣君) ตำแหน่งท่านหญิง เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 6 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นธิดาในจวิ้นอ๋องกับพระชายารอง ธิดาในผู้สืบทอดชินอ๋องกับพระชายารอง หรือธิดาในเป้ยจื่อกับชายาเอก
  1. กงเก๋อเก๋อ (公格格)
หรือเรียกว่า "เซียงจวิน" (鄉君) ตำแหน่งท่านหญิง เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 7 ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็นธิดาในผู้สืบทอดจวิ้นอ๋องกับชายารอง ธิดาในเป้ยเล่อร์กับชายารอง ธิดาในเจิ้งกั๋วกงหรือฝู่กั๋วกงกับชายาเอก   นอกจากนี้ยังมีตำแหน่ง อู่ผิ่นเก๋อเก๋อ (五品格格) ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 8 สำหรับธิดาในเป้ยจื่อกับชายารอง และตำแหน่ง ลิ่วผิ่นเก๋อเก๋อ (六品格格) ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงลำดับที่ 9 สำหรับธิดาในเจิ้งกั๋วกงหรือฝู่กั๋วกงกับชายารอง สองตำแหน่งนี้ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะเหมือนตำแหน่งอื่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์หญิงที่สามารถเรียกว่า เก๋อเก๋อ ได้ทั้งหมด ถือเป็นเชื้อพระวงศ์หญิงชั้นสูง ตำแหน่งอื่นที่ต่ำลงมานอกจากนี้ทั้งหมดจะเรียกว่า จงนวี่ (宗女) ถือเป็นเชื้อพระวงศ์หญิงชั้นล่าง ไม่ใช่องค์หญิงหรือท่านหญิงแล้ว   เครดิต คุณ NATSUO กระทู้ http://pantip.com/topic/30613438

Top Hit


Special Deal